แก๊สซิไฟเออร์คืออะไร

กระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน Gasification

แก๊สซิฟิเคชันเป็นกระบวนการแปรรูปชีวมวลหรือสารอินทรีย์ ซึ่งมีธาตุคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ (Carbonaceous Materials) โดยอาศัยปฎิกิริยาการเผาไหม้ของชีวมวล หรือสารอินทรีย์ในปฎิกรณ์ที่มีออกซิเจนเพียง 1 ใน 3 ของปริมาณออกซิเจนที่ต้องการสำหรับการเผาไหม้แบบปกติ ผลผลิตส่วนใหญ่ของกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันอยู่ในรูปของก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ (Synthetic Gas หรือ Producer Gas) หรือก๊าซชีวมวล ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซไฮโดรเจน (H2) ก๊าซมีเทน (CH4) และสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่ซับซ้อน (Complex hydrocarbons) เช่น C2H2 C2H4 รวมกันประมาณร้อยละ 38 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ร้อยละ 11 ส่วนที่เหลืออีกประมาณร้อยละ 51 เป็นก๊าซไนโตรเจน (N2) ก๊าซเชื้อเพลิงสังเคราะห์ หรือก๊าซชีวมวลมีค่าความร้อนแตกต่างกันตามชนิด และคุณสมบัติของวัตถุดิบตลอดจนประเภทปฏิกรณ์ที่ใช้ สำหรับ ทางบริษัท ปูนขาวและแร่ จำกัด นั้น ผลิตแก๊สซิฟิเคชั่นแบบที่โซนปฎิกิริยาไม่มีการเคลื่อนไหว หรือเบนนิ่ง (Fixed Bed) ปกติ Gasification ตามทฤษฎีจะมีค่าความร้อนอยู่ระหว่าง 3.5-10 เมกกะจูลต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับกระบวนการเผลไหม้ต่างๆได้

Thanispong-Pic

การนำก๊าซชีวมวลจากแก๊สซิฟิเคชันไปใช้ ประสิทธิภาพจะสูงกว่าใช้ชีวมวลโดยตรง ผลการศึกษาพบว่า การเผาไหม้ชีวมวลโดยตรง ให้ประสิทธิภาพร้อยละ 21 กระบวนการแก๊สซิฟิเคชันของชีววลให้ประสิทธิภาพถึงร้อยละ 36

Flow การทำงานของแก๊สซิไฟเออร์

Flow-Chart-Thaigasifier

Flow Chart ของ Thaigasifier