ในสภาวการณ์ปัจจุบัน น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นทำให้พลังงานซึ่งเป็นต้นทุน
ในการผลิตของทุกภาพเศรษฐกิจทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์ (Gasifier Technology)
ที่ใช้เชื้อเพลิงชีวมวล (Biomass) หลายชนิด มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่ใช้ความร้อนในกระบวนการผลิต เช่น การผลิตไอน้ำด้วยหม้อไอน้ำ การเผาปูนขาว การย่างแร่ การอบปุ๋ยและการอบแห้งพืชผลทางการเกษตรซึ่งจะสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตได้มากรวมทั้งลดการนำเข้าพลังงานฟอสซิลได้ด้วย
สำหรับเทคโนโลยีแก๊สซิไฟเออร์ (Gasifier Technology) นั้นไม่ได้พึ่งมีมาไม่ได้แต่ไม่มีความแพร่หลายในประเทศไทยทั้งนี้เนื่องจากความไม่เข้าใจในการทำงานหรือกระบวนการผลิตแก๊สซึ่งอาจจะดูว่ายากและหาเชื้อเพลิงค่อนข้างลำบาก ประเทศไทยนั้นเป็นประเทศเกษตรกรรมอาธิเช่นเศษไม้ ฟางข้าว แกลบ กะลามะพร้าวเป็นต้น ที่ๆเป็นเศษเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีอย่างมากมาย ที่สามารถนำมาเป็นเชื้อเพลิงให้กับเตาแก๊สซิไฟเออร์ (Reactor) ได้ นั้นหมายความว่าเราสามารถนำวัสดุที่อาจจะมีวัสดุเหลือใช้ในชุมชนใกล้เคียงกับโรงงานมาเป็นเชื้อเพลิงได้อีกหรือว่ากันง่ายๆ คือ “ลดต้นทุน”
ทั้งในการผลิตซึ่งก็คือค่าเชื้อเพลิงและค่าขนส่งนั้นเอง
แล้วทำไมต้องเป็น “แก๊สซิไฟเออร์” นั้นก็เพราะคุณสามารถลดต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตเหลือ 1 ใน 3 !!!
Biomass Generator Plan
บริษัทฯ กำลังสร้าชเตาแก๊สซิไฟเออร์สำหรับปั่นไฟฟ้าขนาด 30 kw เพื่อนำไฟฟ้ามาใช้ในโรงงาน กำหนดแล้วเสร็จ เมษายน 56 วัตถุดิบที่ใช้ป้อน ชีวมวลทุกประเภท ยางรถ และ RDF (พลาสติกจากบ่อขยะ)
Oil Refinery with Biomass Reactor
สร้างเครื่องกลั่นน้ำมันจากพลาสติกโดยวิธีการไพโรไลซิส ป้อนต่อเนื่อง ขี้เถ้าออกต่อเนื่อง เป็นระบบคอนทินิวไม่เหมือนระบบอื่นที่ต้องหยุดเอากากออกพลาสติกที่ใช้ pp pe ps หรือ rdf จากบ่อขยะ ปริมาณน้ำมัน 6000-8000 ลิตร 24 ชม. แล้วแต่ชนิดของพลาสติก
การทำงานของ แก๊สซิไฟเออร์ แบบ updraft
ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของ ไทยแก๊สซิไฟเออร์ ได้ตามลิงค์ข้างล่าง